เมนู

5. ปฐมสัญญาสูตร


[45] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา 7 ประการนี้ อันภิกษุ
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่ง
ลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด 7 ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา 1
มรณสัญยา 1 อาหาเร ปฏิกูลสัญญา 1 สัพพโลเก อหิรตสัญญา 1
อนิจจสัญญา 1 อนิจเจ ทุกขสัญญา 1 ทุกเข อนัตตสัญญา 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา 7 ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นที่สุข
จบ ปฐมสัญญาสูตรที่ 5

อรรถกถาสัญญาสูตรที่ 5


สูตรที่ 5

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อมโตคธา ความว่า ตั้งอยู่ในพระนิพพาน บทว่า
อมตปริโยสานา ได้แก่ มีพระนิพพานเป็นที่สุด.
จบ อรรถกถาปฐมสัญญสูตรที่ 5

6. ทุติยสัญญาสูตร


[46] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา 7 ประการนี้ อันภิกษุ
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด สัญญา 7 ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา 1
มารณสัญญา 1 อาหาเร ปฏิกูลสัญญา 1 สัพพโลเก อนภิรตสัญญา 1
อนิจจสัญญา 1 อนิจเจ ทุกขสัญญา 1 ทุกเข อนัตตสัญญา 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า อสุภสัญญา อันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มาก ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
ภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก. จิตย่อมหวลกลับ
งอกลับ ถอยกลับจากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการร่วม
เมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบ
เหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใสลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน
ไม่คลี่ออกฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอบรมแล้ว
ด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในการร่วมเมถุนธรรม
หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า
อสุภสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย
ของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเราไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้น
จึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่า
เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวล
กลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการ